สวัสดีครับ เดี๋ยวใน Blog นี้ผมจะมา guide วิธีการลง LAMP (Linux, Apache, MySQL/MariaDB, PHP) ใน Kali ที่เป็น Arm Based กันดูนะครับ
เกริ่นก่อนนะครับ เนื่องจากตอนแรกผมจำเป็นต้องทดสอบ Vulnerabilities ภายใน Wordpress เลยจำเป็นต้องลง XAMPP เพื่อใช้งาน Aphache และ MySQL สำหรับ Wordpress แต่ที่นี่ด้วยอุปกรณ์ที่ผมใช้เป็น Macbook Air M2 ซึ่งเป็น Arm-Based CPU เลยทำให้ต้องลง Virtual Machine ที่เป็น Arm64 (ในที่นี้ใช้ UTM Kali-Linux Arm64 สามารถโหลดได้ในลิ้งค์นี้เลยครับ https://mac.getutm.app/gallery/kali-2023)
เมื่อเราโหลดไฟล์ Kali จาก UTM Website เรียบร้อยแล้ว ให้เราแตกไฟล์ zip และจะได้ Kali Linux .utm แบบนี้มา
หากเราติดตั้ง UTM บน Mac เราแล้ว สามารถ Double-Click ที่ไฟล์ได้เลยครับ จะได้โปรแกรมหน้าตาแบบนี้มา และ image จะเป็นชื่อเดียวกับชื่อไฟล์ของเรา
ให้เรา Click ที่ปุ่ม Play โดยที่ Default Username และ Password เป็น kali
หลังจากเข้ามาแล้วให้เปิด Terminal แล้วทำการใช้คำสั่ง Update ตัว Kali ของเรา
sudo apt update && sudo apt upgrade
แล้วก็รอให้ OS อัปเดต Software ต่างให้เรียบร้อย ในขั้นตอนนี้อาจจะใช้เวลามากน้อยขึ้นอยู่กับความเร็ว internet ของเรา
เมื่อ update package เรียบร้อยแล้ว เราจะมาเริ่ม install Aphache กันครับ
sudo apt install apache2
Start แล้วก็ Enable ตัว Aphache Service
sudo systemctl start apache2
sudo systemctl enable apache2
จากนั้น Install MySQL ด้วยคำสั่ง
sudo apt install mariadb-server
Start และ Enable MySQL
sudo systemctl start mariadb
sudo systemctl enable mariadb
จากนั้นทำงาน Secure MySQL ด้วยคำสั่ง
sudo mysql_secure_installation
ทำการตั้งค่าตาม preference ที่ต้องการ
จากนั้นเราจะทำการ install PHP กันด้วยคำสั่ง
sudo apt install php php-mysql
ทำการ restart apache
sudo systemctl restart apache2
และทดสอบ Web Server
echo "<?php phpinfo(); ?>" | sudo tee /var/www/html/info.php
เปิด browser ไปที่ localhost/info.php ถ้าหน้าเว็บขึ้นตามภาพแปลว่า Aphache และ PHP ของเราสามารถทำงานได้เรียบร้อยดี
จากนั้นเพื่อความสะดวกในการสร้าง/ลบ/แก้ไข Database แทนที่การใช้ Terminal เราจะมา install phpmyadmin ด้วยคำสั่ง
sudo apt install phpmyadmin
จะมี Pop-up ให้เลือก ในที่นี้เลือก apache2 ครับ
กด Yes และตั้ง Password สำหรับ account phpmyadmin
ใช้คำสั่งด้านล่างเพื่อทำการ config และ restart apache
sudo ln -s /etc/phpmyadmin/apache.conf /etc/apache2/conf-available/phpmyadmin.conf
sudo a2enconf phpmyadmin
จากนั้นใช้คำสั่ง
systemctl reload apache2
จะมี Pop-Up ให้กรอก Password เมื่อเสร็จแล้ว ทำการ restart apache
sudo systemctl restart apache2
เมื่อเปิด browser ไปที่ localhost/phpmyadmin/ จะได้หน้า Login ตามภาพเป็นอันเสร็จเรียบร้อย เราสามารถ Login ด้วย User root หรือ phpmyadmin ที่ตั้งค่าไว้ตอนทำ configuration ได้เลยครับ